KIM.WTF

where curiosity meets creation

เปลี่ยน LINEAR RAIL ให้เครื่อง ENDER3 V3 KE

ความตั้งใจอย่างหนึ่งในการใช้เครื่อง Ender3 V3 KE ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เครื่องแรกของผม คือ ผมจะใช้มันจนกว่าจะเข้าใจทั้งหมด นั่นหมายความว่าผมจะต้องเข้าใจหลักการทำงาน ชิ้นส่วนทุกชิ้น ถอดประกอบ ซ่อม จนกลายเป็นเรื่องปกติ ผมถึงจะพิจารณาเรื่องหาเครื่องพิมพ์ใหม่ในอนาคตครับ

ระหว่างนี้ก็อยู่ในกระบวนการข้างบน โดยใช้การอัพเกรดเครื่องมาเป็นเรื่อง ในการถอดประกอบเครื่อง นัยหนึ่งก็เพื่อจะเป็นการอัพเกรดเครื่องให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น และอีกนัย ก็คือการได้ถอดประกอบชิ้นส่วนต่างๆของตัวเครื่อง เพื่อทำความเข้าใจไปในตัวครับ

BOM OF PROJECT

เหมือนเช่นทุกครั้งครับ เราจะมาเริ่มกันที่ BOM ของ project นี้กัน ถ้าดูจาก BOM แล้ว ต้นทุนที่แพงที่สุด ก็คือชุดรางสไลด์ Linear Rail ครับ คิดเป็น 90% ของ Project นี้เลยทีเดียว

ขั้นตอนการทำที่น่าสนใจ

ทุก Project ผมจะไม่ลงขั้นตอนการทำโดยละเอียด ประเภทที่ว่า ดูแล้วทำตามได้ แต่ผมจะลงเฉพาะจุดที่ผมคิดว่าน่าสนใจ และ ควรระวังเท่านั้นครับ

ท่านที่สนใจสามารถ เข้าลิงค์ได้ตารางท้าย Project เลยครับ ในนั้นมีสิ่งที่ควรเน้นย้ำให้ทำตามอย่างเคร่งครัดสำหรับผม คือ ขนาดต่างๆของน็อตที่เขาแนะนำมา ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้ตามนั้นครับ

ข้อควรระวังอีกข้อ ในไทย เราหา Heat insert ขนาด M3x5x5 ตามที่เค้าแนะนำมาไม่ได้ เท่าที่หาเจอจะเป็น M3x4x5 เกือบทั้งหมด ซึ่งสามารถใช้แทนกันได้ครับ แต่ต้องระวังเมื่อใส่กับชิ้นงาน ให้เอาพลาสติกที่ละลายออกให้ดีครับ เพราะขนาดจะสั้นกว่าของต้นแบบมิลหนึ่ง

หน้าตาพระเอกของงานนี้ ในถุงสีฟ้าครับ

นี่คือชิ้นงานที่แพงที่สุดของ Project นี้ครับ ผมหาเสปคที่ต้นแบบแนะนำมาไม่ได้ ต้นแบบแนะนำให้ใช้ MGN12H rails ขนาดความยาว 300 มิล เท่าที่พยามหาส่วนใหญ่เจอแต่งานก็อป ใน lazada และ shopee ของแท้ต้องรอสั่งจากต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ราคาก็ไม่ถูก และไม่มั่นใจว่าจะได้ของแท้หรือเปล่า

ผมจึงเอา Spec ของ MGN12H rails ไปเทียบกับ vendor เจ้าที่ผมซื้อของบ่อยๆ เมื่อต้องการของมีคุณภาพ และระยะเวลาการจัดส่งที่แน่นอน อย่าง MIsumi ครับ ซึ่ง spec ที่ใกล้เคียง ต้องเบิกของจากญี่ปุ่นใช้เวลารอของนับจากวันที่สั่ง 9 วัน แล้วก็ได้ของตามกำหนดการ ไม่มีขาดไม่มีเกินครับ ซึ่งราคาก็อาจจะสูงหน่อย แต่เรื่องคุณภาพสบายใจได้เลย

ขอควรทราบอีกอย่างคือชิ้นที่ผมได้ รหัส E-SMLG12-300 LINEAR RAIL 300MM จาก misumi นั้นขนาดรางสามารถวางได้ตามแบบพอดี ส่วนเบ้าที่วิ่งอยู่บนรางจะเล็กกว่า MGN12H อยู่เล็กน้อย ทำให้ใส่น็อตได้ข้างละ 2 ตัว จากที่ต้องใส่ 4 ตัว ซึ่งผมทดสอบแล้วว่า 2 ตัวก็ไม่มีปัญหาครับ

#ปรับปรุงเพิ่มเติมครั้งที่ 2

จากปัญหาที่ว่าตัวยึดกับ Bed กับรางของผม ไม่ตรงกับเสปคที่ผู้พัฒนาทำแบบเอาไว้ ทำให้ใส่น็อตได้เพียงสองตัว จากทั้งหมด 4 ตัว ต่อ 1 ชิ้น ตามที่ผมบอกไว้ในตอนแรก ว่าเมื่อทดลองพิมพ์ก็พิมพ์ได้ปกติ

แต่จากการลองพิมพ์ไปหลายสิบชั่วโมง พบว่าถ้าเอามือยกฐานตามแนวแกน Y ฐานมันยังกระดกได้ ซึ่งปัญหานี้สร้างความรำคาญใจ เพราะผมไม่รู้ว่าจะเกิดผลเสียกับงานพิมพ์ในอนาคตหรือไม่ เช่น ถ้าพิมพ์ชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่ หรือ infill ที่มีความแข็งแรงมาก อาจจะส่งผลกับการกระจายน้ำหนักของฐานพิมพ์ได้

ผมจึงต้องเขียนแบบตัวยึดฐานหรือ Bed Plate ขึ้นมาใหม่โดยอ้างอิงของเดิม เพื่อขยับรูให้ตรงกับชิ้นส่วนที่ผมมีครับ

แบบที่มีการแก้ไขครับ
จากจุดยึดบนรางของเดิมทำให้ยึดได้เพียงสองตัว และไม่สามารถยึดแนวแทยงได้ จึงเกิดการกระดก
เปรียบเทียบแบบของเดิม และแบบที่พิมพ์ใหม่
ติดตั้งบนรางเรียบร้อย

ผมจากการปรับปรุงตัวยึดรางมั้ย ก็ได้ผลจากการพิมพ์ที่ดีขึ้น Leveling ของฐานใกล้เคียงกันมากขึ้นครับ

สรุป

หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ปรับจูนเครื่องให้ทำงานได้ตามปกติ ก็ได้เวลาพิมพ์ทดสอบ คุณภาพงานคิดว่าอาจจะดีขึ้นเล็กน้อย ซึ่งต้องใช้เวลาในการทดสอบอีกหลายร้อยชั่วโมงผมถึงจะบอกได้ว่ามันดีกว่าจริงหรือไม่

แต่ที่ประทับใจทันที่เลย คือเสียงที่โคตรดังน่ารำคาญ หายไปหมดสิ้น เหลือแต่เสียงพัดลม ลดความรำคาญสร้างความสบายหูได้เยอะมากเลยครับ แค่นี้ก็คุ้มค่ามากๆแล้วสำหรับผม