“ผมอยากมีพื้นที่ สักพื้นที่หนึ่ง ที่ผมอยากเล่าอะไร อย่างแบ่งปันเรื่องอะไร ไปเจออะไรที่น่าสนใจมา ก็มาใส่ไว้ในพื้นที่นี้ โดยที่ไม่สนว่าจะมีใครอ่าน”
ข้อความด้านบนคือแนวคิดแรก ที่ผมอยากกลับมาเปิดเว็บ blog ส่วนตัว อันที่จริงแล้วผมคิดเรื่องนี้มาสักพัก สักพักนี่คือไม่ต่ำกว่า 3 ปี ตั้งแต่ชื่อเว็บก่อนที่ต่อโดเมนไว้เรื่อยๆ จนมาถึง kim.wtf ที่จดโดนเมนทิ้งไว้ปีกว่า แต่ก็ยังไม่ได้เริ่มสักที เพราะภาระงานที่ยุ่งจนแทบหาเวลาไปทำอะไรอย่างอื่นไม่ได้เลย
จนปัจจัยหลายอย่างมันบีบเข้ามา การผลัดวันไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ทางออกที่ดีแล้ว เว็บนี้จึงได้ฤกษ์เปิดขึ้น จดโดนเมนมาปีกว่า น้องที่ออฟฟิศใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที เสกให้เว็บนี้กลับมาออนไลน์ได้ บทจะง่าย มันก็ง่ายเอาการ เพราะฉะนั้น วันนี้ผมจะมาเล่า 3-4 เหตุผลที่ผมเปิดเว็บนี้ขึ้นมา
blog คือความทรงจำที่ดี
ผมโตมาในยุคที่ยังไม่มี social media และ internet ตอนนั้นเป็นยุค forum ผู้ใช้ internet ในยุคนั้นล้วนมีเรื่องที่ตัวเองสนใจ ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง ผู้คนที่สนใจเหมือนกันจะมารวมตัวกันใน webboard กลายเป็นชุมชนเล็กๆ ที่กระจายไปทั่ว internet ตามความสนใจของแต่ละคน
การเสพข้อมูลในยุคนั้นจึงเป็นเรื่องของการอ่าน และ การเขียน เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เป็นยุคทองของ forum ก่อนที่จะมี social media พัฒนาการของเว็บมีการพัฒนามากขึ้น ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า blog ขึ้นมา
blog เป็นความทรงจำที่ดีของคนรักการอ่านแบบผมมาก การได้อ่าน blog ของคนอื่นๆ เป็นความสุขอย่างหนึ่ง เพราะ การเขียน blog หนึ่งเรื่อง ใช้ความตั้งใจมากในการเขียน ทั้งยังต้องหาภาพประกอบสวยๆ เพื่อให้ blog น่าอ่าน น่าสนใจขึ้น
เช่นเดียวกัน การได้เป็นผู้เขียน การแบ่งปันเรื่องบางอย่างลงใน blog ก็ถือเป็นความทรงจำที่ดีเสมอมาของผม
การได้กลับมาเขียน blog อีกครั้งในโลกยุคที่มีทั้ง social media เฟื่องฟู รูปแบบการเสพสื่อเปลี่ยนไปเยอะมากจากยุคก่อน content ต่างๆ บนโลก internet มีปริมาณมากมายมหาศาล และ มาในหลายรูปแบบ ทั้งบทความสั้นๆ ใน facebook , คลิปวิดีโอขนาดยาวใน youtube , หรือ podacast ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง shorts video ที่กำลังแพร่หลาย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ ผู้คนใช้เวลาในเสพเรื่องแต่ละเรื่องสั้นลงมาก
การกลับมาเขียน blog ในปัจจุบันจึงให้ความรู้สึกเหมือน การกลับมาถ่ายกล้องฟิล์มในโลกยุคที่ดิจิตอลเฟื่องฟู ถึงแม้ว่ามันจะง่ายกว่าเดิมเยอะมาก เพราะพัฒนาการของเทคโนโลยีมันดีขึ้นกว่าเดิมแบบเทียบไม่ติด แต่วิธีการ และ ความพิถีพิถันในการจะเขียน blog สักเรื่อง ยังเป็นสเน่ห์ที่ชวนดึงดูดสำหรับผมอยู่เสมอมา

Personal website ยังเป็นช่องทางที่ดี
เว็บส่วนตัวยังตอบโจทย์ สำหรับผมอยู่มาก ซึ่งในความจริงผมสามารถบันทึกเรื่องราวลงใน socia media ก็ได้ และ สามารถกลับไปอ่านตอนไหนก็ได้เหมือนกัน ถ้ามองในทางนี้ social media ดูสะดวกกว่าเว็บอยู่เยอะ
แต่สำหรับผมเว็บส่วนตัวยังเป็นช่องทางที่ดี ผมสามารถเข้าเว็บได้โดยตรง และ ย้อนกลับไปอ่านเรื่องราวต่างๆ ที่เคยบันทึกไว้ โดยที่ไม่ต้องเจอกับเรื่องราวที่ผมไม่อยากเห็น ไม่ว่าจะโฆษณา หรือ ข่าวสารต่างๆ ที่ผมไม่ได้อยากรับรู้มากเวลาเข้าไปใน socia media ยิ่งช่วงหลังที่ผมพยามลดการใช้งาน socia media ลงด้วยแล้ว
เว็บไซต์ยังเป็นประโยชน์อีกอย่างในแง่ของการจัดการ content การแบ่งหมวดหมู่ การสืบค้น มันทำได้อย่างอิสระ และ สะอาดตากว่า
ประการสำคัญสำหรับผมคือหลายครั้งที่ผมอยากแบ่งปันเรื่องบางเรื่องลงไปอย่างละเอียด แต่ไม่อยากโพสต์ลงใน socia media
ใช่ครับ! ผมยังอยากแบ่งปันเรื่องราวต่างๆ แต่ก็ไม่ได้อยากให้ใครเข้ามาอ่านมันมากนัก ซึ่งถ้าเป็น website การที่คุณหลุดเข้าในเว็บนี้ และ สามารถอ่านมาถึงตรงนี้ได้ ก็ถือว่า คุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจเรื่องราวในนี้จริงๆ
Project database
หน้าที่หนึ่งของเว็บนี้ คือการเป็นฐานข้อมูลโครงการต่างๆ ที่ผมทำไป ผมมีระบบติดตามโครงการแบบละเอียดอยู่แล้ว คุณสามารถอ่านได้ในเรื่อง “ผมใช้ Google sheets บริหารโปรเจคได้อย่างไร” แต่มันไม่สามารถบันทึกรายละเอียด กระบวนการได้ ปัญหา เทคนิคที่เจอระหว่างการทำ project ลงไปได้
หลังจากปรับปรุง code ในเว็บให้สามารถค้นหาเลข project number แล้วพุ่งตรงไปที่ project นั้นได้เลย ผมก็ได้บันทึก project แต่ละตัวที่ผมทำอย่างละเอียด ผมจะเขียนบันทึกเอาไว้ ว่าทำไมผมถึงเริ่มทำ project นี้ และ ในระหว่างทำ มีจุดไหนที่น่าสนใจ จุดไหนที่เป็นปัญหา จุดไหนที่พอปรับปรุงไปสักนิด แล้ว มันทำให้ทุกอย่างดีขึ้น เรื่องแบบนี้ผมอยากบันทึกเอาไว้เมื่อกลับมาอ่านต่อแล้วจะเป็นประโยชน์
เพราะผมไม่มีทางจำรายละเอียดทุก project ที่ผมทำไปได้ บันทึกในเว็บนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับตัวผม

ผสมผสาน
ในโลกยุคที่พัฒนาการของ internet มันก้าวกระโดดขนาดนี้ และ ผมเองก็ทำงานที่เกี่ยวข้องกับด้านนี้โดยตรง การเขียน blog ที่ผมบอกว่ามันเหมือนกับการถ่ายกล้องฟิล์มในยุคดิจิตอล ในแง่ความรู้สึกอาจจะให้อารมณ์แบบนั้น แต่ในความจริงแล้ว มันง่ายขึ้นเยอะ
อย่างเว็บนี้หลายอย่าง เช่นภาพประกอบ ถูกสร้างขึ้นโดย generative AI ผมไม่จำเป็นต้องหาภาพ ไม่ต้องซีเรียสว่าจะมีภาพประกอบหรือไม่ ผิดลิขสิทธิ์หรือเปล่า เพียงแค่บอก AI ว่าอยากได้ภาพแบบไหน ก็สามารถเอามาใช้งานได้ทันที
หรือการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บนี้ หลายๆ อย่างผมก็ใช้การวิเคราะห์ และ ให้ AI เป็นตัวแก้ปัญหา ลดเวลา ได้ผลดีมากทีเดียวครับ
ท้ายที่สุด ผมชอบในกระบวนการที่ต้องมีความตั้งใจ ต้องวางแผนก่อนจะเขียนเรื่องสักเรื่องลงไป ชอบในการเข้าถึงที่ไม่ง่ายเท่าไหร่นัก ของผู้ที่จะสามารถเข้ามาอ่าน และ ผมก็ไม่ปฏิเสธ ถ้าเทคโนโลยีใหม่ๆ มันจะทำให้เป้าหมายที่เราอยากให้เป็น สำเร็จได้ง่ายขึ้น
Employee / Son / Father / Husband / and a little of everything in between